TIJ Common Ground : Future is Here.
เอกสารแนะนำ TIJ Common Ground พร้อมไฮไลท์กิจกรรม ตั้งแต่เปิดพื้นที่ใน พ.ศ. 2565 เพื่อให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความยุติธรรมสำหรับทุกคน ด้วยแนวคิด "เป็นมิตร เปิดกว้าง สร้างสรรค์" ภายใต้ความเชื่อว่า "ความยุติธรรมเป็นเรื่องของทุกคน"
รายละเอียดราคาและเวลาที่เสียไปในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย
บทสรุปรายงานวิจัยเพื่อการพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดด้านระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคนไทยเพื่อสะท้อนสภาวการณ์ปัจจุบันและจุดประกายการพัฒนาในอนาคต ผู้จัดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป เมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งเป็นข้อมูลให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อจะได้เห็นภาพใหญ่ของต้นทุนทางสังคมและนำไปสู่การพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นกลไกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค และเป็นที่พึ่งให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
รายละเอียดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการแนวทางการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centric Justice) ระยะที่ 1
โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับกระบวนการยุติธรรม ด้วยการออกแบบการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยแนวทางการศึกษายึดตามหลักรายงาน Justice Needs Survey ของสถาบัน The Hague Institute for Innovation Law (HiiL) รายงานการศึกษาฉบับนี้้เป็นการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 มุ่งเรื่อง Justice Needs and Costs ซึ่งพบผลการศึกษาและข้อเสนอแนะจากงานวิจัยตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการ 2 ประการ ได้แก่ 1. ศึกษา สำรวจ และประเมินความต้องการกระบวนการยุติธรรมและต้นทุนการใช้ประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรมของประชาชน 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรม และลดต้นทุนของประชาชนในการทำงานร่วมกับกระบวนการยุติธรรม
รายละเอียดความยุติ-ธรรมใต้ภูเขาน้ำแข็ง: เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วย การสร้างนิติรัฐนิติธรรมในสังคมไทย
สำหรับคนไทยจำนวนมาก 'ระบบยุติธรรม' ไม่ใช่ระบบที่สามารถยุติข้อพิพาท และลงโทษผู้กระทำผิดด้วยความเป็นธรรม แต่กลับเป็นระบบ 'ยุติ-ธรรม' ที่ยุติความเป็นธรรมลงเสียเอง สังคมไทยตกผลึกร่วมกันว่าระบบยุติธรรมไทยมีปัญหาใหญ่อยู่ 5 ด้าน ตั้งแต่โทษอาญาเฟ้อ การใช้โทษจำคุกล้นเกิน ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ความไร้ประสิทธิภาพ และคอร์รัปชัน ตลอดกว่าสองทศวรรษของการปฏิรูป เราเชื่อกันว่าการแก้ไขกฎหมายและการร่างกฎหมายใหม่จะนำมาซึ่งระบบยุติธรรมกว่าเดิม แต่ปัญหาเหล่านี้เป็นเพียง 'ยอดภูเขาน้ำแข็ง' เท่านั้น ข้อเสนอเชิงเทคนิคกฎหมาย แม้จำเป็น แต่ก็ไม่สามารถปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมได้จริง ในหลายครั้งเมื่อข้อเสนอเหล่านี้พุ่งชนกับ 'ใต้ภูเขาน้ำแข็ง' ของกระบวนการยุติธรรมไทย ผลลัพธ์ที่ได้กลับแย่ลง ทำไมกฎหมายที่ดีจึงไม่เพียงพอต่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม? และทำไมผู้หวังดีต่อกระบวนการยุติธรรมจึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง? ชวนผู้อ่านสำรวจ 'ภูเขาน้ำแข็ง' ของระบบ 'ยุติ-ธรรม' ผ่านแว่นตาเศรษฐศาสตร์สถาบัน ทำความเข้าใจปัจจัยที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างกฎหมายและระเบียบการบริหารงานภาครัฐ และปัจจัยที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างแนวปฏิบัติ บรรทัดฐานทางสังคม คุณค่า วัฒนธรรม และจารีต เพื่อเริ่มต้นหาคำตอบในการสร้างนิติรัฐนิติธรรมขึ้นในสังคมไทย
รายละเอียด