ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

งานเสวนาระดับโลก ชุด “กระบวนการยุติธรรมที่ตอบสนองต่อเพศภาวะและการปฏิรูปเรือนจำ” 

กระบวนการยุติธรรมและระบบราชทัณฑ์กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขึ้นทั่วโลก แต่เดิมนั้น ระบบราชทัณฑ์ได้รับการออกแบบมาเพื่อคุมขังผู้ต้องขังชายเป็นหลัก แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศภาวะ จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่ถูกนำมาปรับใช้ในระบบราชทัณฑ์เพื่อช่วยให้ระบบสามารถสนองตอบกลุ่มผู้ต้องขังหญิงได้ ในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขเช่นนี้ การสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนผู้ต้องขังหญิง และส่งเสริมการบำบัดฟื้นฟูโดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และสำนักงานป้องกันอาชญากรรมและปราบปรามยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาระดับโลกเพื่อสร้างแพลทฟอร์มในการอภิปรายถึงความท้าทายในปัจจุบันที่ผู้ต้องขังหญิงต้องเผชิญ พร้อมทั้งเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนวิธีการ ประสบการณ์ บทเรียน รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยส่งเสริมแนวคิดการตอบสนองความต้องการเฉพาะตามเพศภาวะ ทั้งในมิติการลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำ และมิติการปฏิรูปเรือนจำและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระยะยาว อีกทั้งคาดว่าจะได้รับทราบถึงลำดับความสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมและระบบราชทัณฑ์ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 (ความเท่าเทียมทางเพศ), เป้าหมายที่ 16 (การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับทุกคน) และ 17 (การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก)

 

นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2563 เป็นปีครบรอบ 10 ปี ของข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือข้อกำหนดกรุงเทพ การจัดชุดเสวนาระดับโลกครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการอภิปรายระดับสากลว่าด้วยเรื่องของการตอบสนองต่อความแตกต่างทางเพศภาวะของผู้ต้องขังหญิง และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำมาตรการที่มิใช่การคุมขังมาใช้กับผู้ต้องขังหญิงด้วย

 


ชุดเสวนา ประกอบด้วยงานเสวนาออนไลน์ ระยะเวลาประมาณ 45-60 นาที มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นหัวข้อที่ต่างกันระหว่างผู้เสวนาและตอบคำถามที่ส่งเข้ามาโดยผู้เข้าชมการเสวนา

 


งานเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 1:
TIJ ร่วมกับ UNODC เปิดตัว “คู่มือว่าด้วยมาตรการที่มิใช่การคุมขังที่ตอบสนองต่อเพศภาวะ”

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563


>>WEBINAR SUMMARY: CLICK HERE <<

 

 


งานเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 2:
การส่งเสริมทางเลือกแทนการคุมขังสำหรับผู้หญิงที่กระทำผิดกฎหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2563


>>WEBINAR SUMMARY: CLICK HERE <<

 

 

 


งานเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 3:
การส่งเสริมการคืนสู่สังคมของผู้ต้องขังหญิง หลังได้รับการปล่อยตัว

วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563


>>WEBINAR SUMMARY: CLICK HERE <<

 

Back