ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม
TIJ ร่วมกับเครือข่ายนานาชาติของผู้หญิงที่เคยถูกคุมขัง (International Network of Formerly Incarcerated Women: INFIW) Health and Opportunity Network (HON) และ We-Trust Network จัดงาน International Convening of Formerly Incarcerated Women ณ TIJ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวคิด และประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยผ่านการคุมขัง รวมถึงสร้างและขยายเครือข่ายในการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกคุมขังหญิง โดยภายในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 ท่าน ประกอบด้วยผู้หญิงที่เคยถูกคุมขังจากนานาประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย บราซิล สเปน แซมเบีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ สร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ และขยายเครือข่าย
 
ภายในงาน ตัวแทนจากโรงเรียนตั้งต้นดีได้ร่วมนำเสนอในหัวข้อ “สถานการณ์ของผู้หญิงที่เคยถูกจองจำในประเทศไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรือนจำและข้อท้าทายที่ต้องเผชิญในการกลับคืนสู่สังคม ตลอดจนแนะนำโรงเรียนตั้งต้นดีให้แก่เครือข่าย INFIW ที่ได้ให้โอกาสในการตั้งต้นชีวิตใหม่ ผ่านการพัฒนาทักษะอาชีพ การลงมือทำงานในสถานที่จริง ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจและบุคลิกภาพ เพื่อสนับสนุนการกลับคืนสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการได้เป็นส่วนหนึ่งในงานประชุมระดับนานาชาติของผู้หญิงที่เคยถูกคุมขัง ร่วมกับหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายระหว่างประเทศนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของ TIJ และโรงเรียนตั้งต้นดีในการขยายพันธมิตรและเครือข่ายที่พร้อมขับเคลื่อนเพื่อสิทธิของผู้หญิงที่ถูกคุมขังให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
 

หน่วยงาน INFIW

ก่อตั้งขึ้นโดยผู้หญิงที่มีประสบการณ์ตรงและมีเป้าหมายในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้หญิงและเด็กหญิงที่ยังคงถูกคุมขังหรือเคยถูกคุมขังทั่วโลก เพื่อสะท้อนถึงปัญหาและประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยถูกลิดรอนเสรีภาพ และรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนระบบยุติธรรมที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับภารกิจของ TIJ ในการขับเคลื่อนการอนุวัติข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง (ข้อกำหนดกรุงเทพ) เพื่อยกระดับการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดหญิงอย่างเท่าเทียมและเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

Back
chat