ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

บทบาทของ TIJ ใน CCPCJ

 

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ เป็นองค์กรไทยองค์กรแรกและองค์กรเดียวที่ได้รับเชิญจาก UNODC ให้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (Commission on Crime Prevention and Criminal Justice – CCPCJ) ในฐานะสถาบันเครือข่ายของสหประชาชาติด้านกระบวนการยุติธรรม หรือ United Nations Programme Network Institute (UN-PNI) โดยมีสถานะแยกต่างหากจากรัฐบาลไทย

 

TIJ มีสถานะเป็น UN-PNI ดีอย่างไร?
ประการแรก TIJ ได้รับการยอมรับจาก UNODC ในการร่วมดำเนินงานวิจัย จัดการประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ หรือแม้แต่การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ TIJ ร่วมกับ UN-PNIs อื่นๆอีก 17 แห่งทั่วโลก ยังมีบทบาทในการสนับสนุนการจัดการประชุม CCPCJ ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆเกี่ยวกับทิศทางการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในอนาคตอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมโยงประเด็นด้านหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ในอีกทางหนึ่ง TIJ ยังสามารถทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยโดยการเป็น “สะพานเชื่อมองค์ความรู้” เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติของไทยด้านการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ พร้อมรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีของไทยไปนำเสนอในเวทีสหประชาชาติอย่างเป็นระบบอีกด้วย

 

 

สำหรับการประชุม CCPCJ ในครั้งนี้ TIJ ร่วมกับ UNODC UN-PNI ต่างๆ รัฐบาลไทย รัฐสมาชิกของ UN และองค์กรระดับระหว่างประเทศอื่นๆ จัดกิจกรรมที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนี้ 
1. การสนับสนุนรัฐบาลไทยด้านวิชาการในการนำเสนอร่างข้อมติ เรื่อง Integrating sport in youth crime prevention and criminal justice strategies เพื่อส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรม ด้วยการนำกีฬาเข้ามาช่วยฟื้นฟูอดีตเยาวชนและเด็กที่กระทำความผิด ให้สามารถคืนสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
2. การเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเวทีคู่ขนานในหัวข้อ Fostering a Culture of Lawfulness in Support of the 2030 Agenda
3. การเป็นผู้ร่วมจัดกิจกรรมเวทีคู่ขนานในหลายหัวข้อ ได้แก่
3.1 Integrating Sport in Youth Crime Prevention and Criminal Justice System
3.2 Redesigning a Borderless Youth Engagement for Sustainability:A Showcase of Outcomes from the UNODC-TIJ Borderless Youth Forum on Innovation, Justice and Collaboration for the 2030 Agenda
3.3 Rehabilitation and social reintegration of women prisoners
4. การจัดนิทรรศการ “Investing in the Future: Revitalizing and Empowering Youth”

 

 

 

 

ร่วมติดตามภาพบรรยากาศ และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์การทำงานไปกับ TIJ ได้ทุกช่องทาง:
Facebook - www.facebook.com/tijthailand.org/
Website - www.tijthailand.org/
Twitter - twitter.com/tijthailand
YouTube - www.youtube.com/user/TIJThailand

Back
chat