ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม
  • Global Prison Trends 2024

    --

    icon

    11 ก.ย. 2567

  • Troubled Childhood ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของเด็กและเยาวชนไทย

    สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ในฐานะสถาบัน เครือข่ายขององค์การสหประชาชาติ ที่มีภารกิจในการส่งเสริมและปกป้อง สิทธิมนุษยชน ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ สำรวจข้อมูลความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนไทยอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2560 - 2562 โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม และได้จัดทำเป็นหนังสือแล้ว จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ “Troubled Childhood I: ประวัติการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของเด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน” หนังสือ “Troubled Childhood II: ประวัติการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของเด็กในศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก และเยาวชน หนังสือ “Troubled Childhood III: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อายุ 18 - 19 ปี” และล่าสุดหนังสือ “Troubled Childhood IV: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของเด็กและ เยาวชนในสถานศึกษาอายุ 12 - 17 ปี หนังสือ “Troubled Childhood V: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ของเด็กและเยาวชนไทย” เล่มนี้ เป็นการประมวลผลการศึกษาวิจัยของกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่ทำงานด้านความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วน ช่วยสร้างความตระหนักรู้ในสังคม และนำไปสู่การยุติความรุนแรงต่อเด็ก และเยาวชนในทุกรูปแบบ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการดูแลเด็กและเยาวชน ด้วยความเข้าใจ ให้พวกเขาเติบโตอย่างมีคุณภาพและเป็นกำลังหลักของสังคม ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

    icon

    02 ก.ย. 2567

คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ตัวแปรที่ใช้ในการจัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม ปี 2566

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดทำคำแปลอย่างไม่เป็นทางการตัวแปรที่ใช้ในการจัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม ปี 2566 (WJP Rule of Law Index 2023) เพื่อแสดงถึงรายละเอียดของตัวแปรแต่ละตัวที่ใช้ในการจัดทำปัจจัยของดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมของ WJP

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ : TIJ

icon

เผยแพร่วันที่ : มกราคม 2567

รายละเอียด

รายงานสรุปการประชุม ASEAN Justice Innovation 2023 งานนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมแห่งอาเซียน: หลักนิติธรรม ข้อมูล และอนาคตของระบบยุติธรรมในอาเซียน

จากข้อมูลของ World Justice Project (WJP) องค์กรที่คิดค้นดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) เพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินความมีนิติธรรมของแต่ละประเทศในแต่ละปี พบว่าสถานการณ์หลักนิติธรรมทั่วโลกกำลังอยู่ในสภาวะถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียนที่ตกต่ำรุนแรงกว่าค่าเฉลี่ยระดับสากล TIJ จึงได้ร่วมกับ WJP จัดงานนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Justice Innovation 2023) ขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาค ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “หลักนิติธรรม ข้อมูล และอนาคตของระบบยุติธรรมในอาเซียน” ประกอบด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่หลากหลายตลอดทั้งสามวัน ได้แก่ 1. การขับเคลื่อนการปฏิรูปหลักนิติธรรมที่อาศัยข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Data and Evidence-based Approach towards Rule of Law Reform) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์หลักนิติธรรมในประเทศไทย กรอบแนวคิดการประเมินพัฒนาการ ด้านหลักนิติธรรมด้วยดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมของ WJP แนวคิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านมุมมองที่หลากหลายของผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงการร่วมหารือถึงแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคะแนนดัชนีหลักนิติธรรม โดยเริ่มต้นจากประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ปัญหาการคอร์รัปชัน การปฏิรูปกฎหมายด้วยกิโยตินกฏหมาย การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและนโยบายรัฐบาลเปิดและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2. การส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Enhancing People-Centered Justice Innovation in ASEAN) โดยจัดกิจกรรมเชื่อมเครือข่ายและเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ เน้นเปิดพื้นที่ให้นวัตกรด้านความยุติธรรมที่ทำงานอยู่ในภูมิภาคอาเซียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถอดบทเรียนและความท้าทายเพื่อร่วมกันวางแผนการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนและเชื่อมโยงความร่วมมือจากระดับภูมิภาคสู่ระดับสากลผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นสำคัญ ได้แก่ นิยามของคำว่า “นวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม” การสร้างความยั่งยืนให้กับนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม และการนำต้นแบบนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมไปปฏิบัติใช้ได้จริง 3. การออกแบบอนาคตของความยุติธรรม (Shaping the Future of Justice) โดยจัดกิจกรรมที่ใช้การคิดแบบอนาคตศาสตร์ (Future Thinking) ชวนมองถึงฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการออกแบบความเป็นไปได้ของระบบยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียนและหารือแนวทางการเตรียมพร้อมเพื่อเปิดทางสู่อนาคตของความยุติธรรมที่ต้องการ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเปิดประสบการณ์โลกอนาคตด้วยกิจกรรมพิเศษ 12 Beauty of Freedom - NFTxPrison Project หรืองานประมูลศิลปะภาพวาด NFT บนโลกดิจิทัลที่สร้างสรรค์โดยผู้ต้องขังจากเรือนจำกลางชลบุรีและเรือนจำพิเศษธนบุรี ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวแรงบันดาลใจเบื้องหลังของแต่ละภาพภายใต้โครงการ “พัฒนาอาชีพแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน” รายงานสรุปการประชุม ASEAN Justice Innovation 2023 เล่มนี้ นับเป็นความตั้งใจของ TIJ ในการรวบรวมเนื้อหาสาระและองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดงานดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การยกระดับหลักนิติธรรมในประเทศให้มีความเข้มแข็งและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริง รวมทั้งเพื่อถอดบทเรียนสำหรับเป็นแนวทางผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศของนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ : TIJ

icon

เผยแพร่วันที่ : พฤศจิกายน 2566

รายละเอียด

แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลก ปี 2566

แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลก ปี 2566 จัดทำโดยองค์การปฏิรูปการลงโทษสากล (PRI) และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) มุ่งที่การเปิดเผยถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่องต่อกลุ่มเปราะบางทั่วโลก รวมไปถึงผู้ที่ขัดแย้งกับกฎหมายและครอบครัวของพวกเขา และจะยังคงให้ความสำคัญกับปัญหาความแออัดในเรือนจำ การบริหารจัดการเรือนจำ และความก้าวหน้าในการนำปฏิญญาเกียวโตว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและหลักนิติธรรม เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ : PRI, TIJ

icon

เผยแพร่วันที่ : มิถุนายน 2566

รายละเอียด

PNI Newsletter: Issue 3, 2023

--

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ :

icon

เผยแพร่วันที่ : พฤษภาคม 2566

รายละเอียด

PNI Newsletter: Issue 2, Autumn 2022

--

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ :

icon

เผยแพร่วันที่ : ธันวาคม 2565

รายละเอียด

คำแปลยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการเชิงปฏิบัติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (ฉบับปรับปรุง)

คำแปลยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการเชิงปฏิบัติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ฉบับปรับปรุง จัดทำโดย สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) คำแปลฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ต้นแบบฯ เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานของรัฐและผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนในการปกป้องผู้หญิงจากความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

icon

หน่วยงานผู้จัดทำ : สถาบันนิติวัชร์, TIJ

icon

เผยแพร่วันที่ : มีนาคม 2566

รายละเอียด

6 ถึง 12 จาก 122 รายการ

chat