ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

การนำร่องอบรมหลักสูตร Emotional Wellness Program

 

 

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จัดการนำร่องอบรมหลักสูตร Emotional Wellness Program ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี สุดารักษ์ สุวรรณานนท์ หัวหน้าฝ่ายบริหารและเผยแพร่องค์ความรู้ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวแนะนำหลักสูตร และได้รับเกียรติจาก ท่าน พ.ต.ท. วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพินิจฯ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรม

 

 

 

การนำร่องอบรมหลักสูตร Emotional Wellness Program มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานด้านการดูแลเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกลุ่มพิเศษ หรือเด็กและเยาวชนกลุ่มเฉพาะ และด้านการบริหารจัดการการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน (Case Management) โดยการใช้เทคนิค Cognitive Behavior Therapy ในการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน โดยแพทย์หญิงสลักจิต แสงสิน นายแพทย์ชำนาญการ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี ภู่ขาว ผู้เชี่ยวชาญในการใช้จิตวิทยาในการบำบัดฟื้นฟูเด็ก หัวหน้าภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว

 

อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการสร้างเสริมสมรรถนะทางจิตใจ (Psychological well-being) ให้กับผู้เข้าร่วม ทั้งในด้านการตั้งความหวัง (Hope) การประเมินความสามารถของตนเอง (Efficacy) ความสามารถในการฟื้นพลัง (Resilience) การสะสมต้นทุนทางใจด้วยการมองโลกในแง่ดีที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Realistic Optimism) การจัดการภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) และความวิตกกังวล (Anxiety) และการเข้าถึงธรรมชาติของความเครียด โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และคณาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้บุคลากรผู้ดูแลเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดที่เข้าร่วมอบรม มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่และมีความเข้าใจในบริบทต่างๆ อีกทั้งมีความเข้มแข็งและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

 

การอบรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 และ 14 – 15 ตุลาคม 2564 เป็นครั้งแรกผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีแผนกำหนดการจัดการนำร่องอบรมครั้งต่อไปในปี 2565

 

 

Back