ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

สัมมนาวิชาการ “พื้นที่เศรษฐกิจใหม่และการปฏิรูปกฎหมายไทยเพื่อส่งเสริมการลงทุน”

 

มูลนิธิป้องกันอาชญากรรมแห่งเอเชีย (ประเทศไทย) หรือ ACPF - Thailand ร่วมกับ มูลนิธิป้องกันอาชญากรรมแห่งเอเชีย (ประเทศญี่ปุ่น) หรือ ACPF - Japan โดยการสนับสนุนของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดการสัมนาทางวิชาการประจำปีในหัวข้อ “พื้นที่เศรษฐกิจใหม่และการปฏิรูปกฎหมายไทยเพื่อส่งเสริมการลงทุน” (EEC and Thailand’s Law Reform: Opportunity for New Investmen) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มนักธุรกิจชาวญี่ปุนมีความรู้ความเข้าใจนโยบายและทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์สําคัญภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค โดยมีดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย EEC คุณดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI และนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ให้เกียรติเป็นวิทยากร

 

ACPF หรือ มูลนิธิป้องกันอาชญากรรมแห่งเอเชีย (Asia Crime Prevention Foundation : ACPF) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการรับรองจาก ECOSOC ให้มีสถานะเป็นองค์กรที่ปรึกษา (consultative status) มีวัตถุประสงค์ในการประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคมกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ภายใต้หลักการ “ความรุ่งเรืองโดยปราศจากอาชญากรรม” หรือ “Prosperity without Crime" ACPF มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางวิชาการระหว่างประเทศในกรอบสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

 

สำหรับ ACPF - Thailand ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีพลตำรวจเอกเภา สารสินเป็นประธานมูลนิธิ และพลตำรวจเอกสุจินต์ อุทัยวัตน์เป็นเลขาธิการ และต่อมา ศ.พิเศษดร. กิตติพงษ์ กิตตยารักษ์ ผู้อำนวยการ TIJ ได้รับหน้าที่เป็นประธานมูลนิธิฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554  

 

ACPF - Thailand มีการดำเนินงานในลักษณะคล้ายคลึงกับมูลนิธิ ACPF ประเทศญี่ปุ่น กล่าวคือ มูลนิธิ ACPF ประเทศไทยจะอยู่ภายใต้การดูแลและช่วยสนับสนุนงานของ TIJ โดยเฉพาะในประเด็นด้านการส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การพัฒนามาตรการด้านการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อสานต่อภารกิจตามเจตนารมณ์สำคัญ คือ การสร้างสรรค์ “ความรุ่งเรืองโดยปราศจากอาชญากรรม” หรือ “Prosperity without crime ”

Back