ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

จากข้อมูลของ World Justice Project (WJP) องค์กรที่คิดค้นดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) เพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินความมีนิติธรรมของแต่ละประเทศในแต่ละปี พบว่าสถานการณ์หลักนิติธรรมทั่วโลกกำลังอยู่ในสภาวะถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียนที่ตกต่ำรุนแรงกว่าค่าเฉลี่ยระดับสากล TIJ จึงได้ร่วมกับ WJP จัดงานนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Justice Innovation 2023) ขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาค ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “หลักนิติธรรม ข้อมูล และอนาคตของระบบยุติธรรมในอาเซียน” ประกอบด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่หลากหลายตลอดทั้งสามวัน ได้แก่ 1. การขับเคลื่อนการปฏิรูปหลักนิติธรรมที่อาศัยข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Data and Evidence-based Approach towards Rule of Law Reform) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์หลักนิติธรรมในประเทศไทย กรอบแนวคิดการประเมินพัฒนาการ ด้านหลักนิติธรรมด้วยดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมของ WJP แนวคิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านมุมมองที่หลากหลายของผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงการร่วมหารือถึงแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคะแนนดัชนีหลักนิติธรรม โดยเริ่มต้นจากประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ปัญหาการคอร์รัปชัน การปฏิรูปกฎหมายด้วยกิโยตินกฏหมาย การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและนโยบายรัฐบาลเปิดและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2. การส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Enhancing People-Centered Justice Innovation in ASEAN) โดยจัดกิจกรรมเชื่อมเครือข่ายและเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ เน้นเปิดพื้นที่ให้นวัตกรด้านความยุติธรรมที่ทำงานอยู่ในภูมิภาคอาเซียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถอดบทเรียนและความท้าทายเพื่อร่วมกันวางแผนการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนและเชื่อมโยงความร่วมมือจากระดับภูมิภาคสู่ระดับสากลผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นสำคัญ ได้แก่ นิยามของคำว่า “นวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม” การสร้างความยั่งยืนให้กับนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม และการนำต้นแบบนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมไปปฏิบัติใช้ได้จริง 3. การออกแบบอนาคตของความยุติธรรม (Shaping the Future of Justice) โดยจัดกิจกรรมที่ใช้การคิดแบบอนาคตศาสตร์ (Future Thinking) ชวนมองถึงฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการออกแบบความเป็นไปได้ของระบบยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียนและหารือแนวทางการเตรียมพร้อมเพื่อเปิดทางสู่อนาคตของความยุติธรรมที่ต้องการ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเปิดประสบการณ์โลกอนาคตด้วยกิจกรรมพิเศษ 12 Beauty of Freedom - NFTxPrison Project หรืองานประมูลศิลปะภาพวาด NFT บนโลกดิจิทัลที่สร้างสรรค์โดยผู้ต้องขังจากเรือนจำกลางชลบุรีและเรือนจำพิเศษธนบุรี ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวแรงบันดาลใจเบื้องหลังของแต่ละภาพภายใต้โครงการ “พัฒนาอาชีพแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน” รายงานสรุปการประชุม ASEAN Justice Innovation 2023 เล่มนี้ นับเป็นความตั้งใจของ TIJ ในการรวบรวมเนื้อหาสาระและองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดงานดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การยกระดับหลักนิติธรรมในประเทศให้มีความเข้มแข็งและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริง รวมทั้งเพื่อถอดบทเรียนสำหรับเป็นแนวทางผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศของนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป


Banner

รายงานสรุปการประชุม ASEAN Justice Innovation 2023 งานนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมแห่งอาเซียน: หลักนิติธรรม ข้อมูล และอนาคตของระบบยุติธรรมในอาเซียน

icon 04 ม.ค. 2567

จัดพิมพ์/เผยแพร่ :04 ม.ค. 2567

ผู้แต่ง :TIJ

หน่วยงานผู้จัดทำ :TIJ

ลิขสิทธิ์ : TIJ

ดาวน์โหลด
Back

Most Viewed