ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

TIJ Survey เผยเห็นควรให้สิทธิเท่าเทียมแก่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 

Pride Month เดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และถือเป็นเดือนเริ่มต้นที่ดีสำหรับก้าวใหม่ของการให้สิทธิเท่าเทียมแก่ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และเพื่อทำความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยยิ่งขึ้น TIJ จึงได้จัดทำการสำรวจ “ความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิในความสัมพันธ์และการสมรสของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ” โดยสำรวจระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 25 พฤษภาคม 2565 จำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,034 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์และเป็นการสำรวจผ่านการทำแบบสอบถามที่เป็นกระดาษจำนวน 120 คน

 

ทั้งนี้ การสำรวจในครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้น (Two-Stage Sampling) คือในขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เป็นประชากรไทย 4 ช่วงอายุ ได้แก่ Baby Boomer (อายุระหว่าง 57-75 ปี), Gen X (อายุระหว่าง 42-56 ปี), Gen Y (อายุระหว่าง 24-41 ปี) และ Gen Z (อายุระหว่าง 15-23 ปี) และในขั้นตอนที่สองใช้การสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) จำนวนขั้นต่ำ 100 คนในแต่ละกลุ่ม เบื้องต้นก่อนการสำรวจกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และได้ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 และเมื่อพิจารณาจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจจริงได้ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99.88

 

ข้อค้นพบจากการสำรวจฯ ที่สำคัญ มีดังนี้

 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในความสัมพันธ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

ร้อยละ 76.1 ควรได้รับสิทธิทุกอย่างเหมือนคู่สมรสชายหญิง

ร้อยละ 13.2 ควรได้รับสิทธิบางอย่าง

ร้อยละ 10.7 ไม่ควรได้รับสิทธิใดๆ

 

การรับมรดก ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 83.9 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

การขอรับบุตรบุญธรรม ตามกฎหมายทำไม่ได้ แต่ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 84.8 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

การกู้ร่วมซื้ออสังหาริมทรัพย์ บางธนาคารมีนยายให้ใช้หลักฐานแสดงความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกัน อย่างน้อย 1 ปี แทนทะเบียนสมรส แต่ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 89.4 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

การขอสัญชาติไทย ตามกฎหมายทำไม่ได้ แต่ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 90.4 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

การตัดสินใจในกรณีรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายทำไม่ได้ ผู้ที่ทำแทนได้จะต้องเป็นญาติหรือคู่สมรสตามกฎหมายเท่านั้น แต่ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 90.4 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

การเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิคู่สมรส ตามกฎหมายทำไม่ได้ แต่ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 84.2 เห็นว่า “ควรทำได้”

 

ข้อมูลทั่วไปของประชากรกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสิทธิในความสัมพันธ์และการสมรสของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ”

 

นอกจากนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ในหลากหลายแง่มุม ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดสามารถติดตามได้ในรูปแบบของ Dashboard: ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิในความสัมพันธ์และการสมรสของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

 

 

 

Back