ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม



เมื่อวันที่ 19 - 21 มีนาคม 2556  สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and crime-UNODC) จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญอาเซียนเพื่อการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมตามข้อกำหนดกรุงเทพ ฯ (ASEAN Experts Meeting on the Development of Training Modules based on the Bangkok Rules ) ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ ฯ



การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 40 คนเข้าร่วมเพื่อพิจารณาร่างหลักสูตรสำหรับใช้ในการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาค



ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง  (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-Custodial Measures for Women Offenders) หรือเรียกโดยย่อว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ได้ผ่านการรับรองของสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 65 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553  ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นความริเริ่มของประเทศไทยตามโครงการ Enhancing Lives of Female Inmates: ELFI ในพระดำริของ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา  ข้อกำหนดกรุงเทพเป็นมาตรฐานของสหประชาชาติที่กำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำสำหรับประเทศสมาชิกจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์และงานคุมประพฤติที่เกี่ยวกับผู้ต้องขังหญิงและผู้กระทำผิดหญิง   และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้มีการนำมาตรฐานดังกล่าวไปปรับใช้ทั้งภายในประเทศไทย และในระดับสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำผิดหญิงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา



 

Back