ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นนายกสภา สจล.

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา 
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แทนพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

 

ขอบคุณภาพจาก www.kmitl.ac.th

 

"ที่ผ่านมา สจล. ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 ของประเทศไทยด้านงานวิจัย โดย Time Higher Education 2019 อันถือเป็นการยอมรับบทบาทของ สจล.ในระดับสากล และ มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยการนำของนายกสภาฯ และสภามหาวิทยาลัยชุดที่ผ่านมา พร้อมทั้ง ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี และผู้บริหาร ทำให้ สจล. มีแนวทางชัดเจนในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่บูรณาการทั้งศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี " ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กล่าว

 

 

สำหรับ ศ. (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านกฎหมาย การค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเนติบัณฑิตไทย หลังจากนั้นได้ทุนฟูลไบร์ทไปศึกษาต่อปริญญาโทใบที่สองด้านกฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และระดับปริญญาเอกในด้านเดียวกัน จากมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมและตำแหน่งสำคัญๆ อีกหลายตำแหน่ง เป็นบุคคลที่มีบทบาทในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมมาตลอด เช่น ยุติธรรมสามานฉันท์  ยุติธรรมชุมชน นโยบายยาเสพติด: ผู้เสพคือ ผู้ป่วย โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560

 

ในปี 2558 เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ ผลักดันให้ TIJ ได้รับการรับรองสถานภาพเป็นองค์กรเครือข่ายสหประชาชาติด้านกระบวนการยุติธรรม หรือ United Nations Programme Network Institute (UN- PNI) แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2559

 

ปัจจุบัน ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนงานด้านกระบวนการยุติธรรม และประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น หลักนิติธรรม การป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา การพัฒนา  เด็กและสตรีในกระบวนการยุติธรรม สันติภาพ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในกรอบความร่วมมือกับสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา เชื่อมโยงแนวคิดตามหลักสากลสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ และในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

 

 

 

Back