ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

โครงการความร่วมมือระหว่าง TIJ กับภาควิชาสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มูลนิธิกฎหมายและการพัฒนาชนบท (FORWARD) จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้นำหญิง ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในชุมชน สังคม และมีศักยภาพเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย/ ผู้แนะนำ ทางกฎหมาย (paralegal) ในการผลักดันให้ผู้หญิงเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรม โดยให้ความรู้ เรื่องกฎหมายพื้นฐานที่จำเป็นเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในกลไกของกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอน การปฏิบัติต่างๆ

รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านผู้หญิงและองค์กรด้านความยุติธรรมอื่นๆ เพื่อสร้าง และพัฒนาความร่วมมือในอนาคต

การอบรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝึกอบรมใน 3 ภูมิภาค โดยครั้งนี้ จัดขึ้นที่ TIJ (กรุงเทพฯ) เป็นภูมิภาคที่


 


 

ในกระบวนการยุติธรรมน้ันผู้หญิงมักเป็นฝ่ายเสียเปรียบอันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่เดิมในสังคม เช่น ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาและทางสังคม ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติและการกีดกันผู้หญิงออก จากความยุติธรรม คณะกรรมการว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีได้มีความเห็นในประเด็นเรื่องการเข้าถึงความยุติธรรม ของผู้หญิงว่าเกิดจาก ปัจจัยใหญ่ ๆ 3 ประเด็นคือ 1) การเข้าไม่ถึงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม  2) การที่ระบบยุติธรรมขาดการตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้หญิง และประเด็นสุดท้ายคือ  3) อุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจ และความยากจน

สองประเด็นหลังต้องการการทำงานอย่างจริงจังของภาครัฐในการสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิของผู้หญิงใน กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนของตำรวจ อัยการ ศาล หรือแม้แต่ราชทัณฑ์ ส่วนในเรื่อง ของความยากจนน้ัน รัฐจำเป็นต้องช่วยสร้างระบบที่อนุญาตให้ผู้หญิงน้ันสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้โดยง่ายและการสร้างหรือปรับปรุงกฎหมายที่ส่งเสริมความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิง

ในประเด็นเรื่องการเข้าไม่ถึงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมน้ัน เป็นเพราะผู้หญิงมักมีความรู้ด้อยกว่าในเชิง ของการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะผู้หญิงที่ยากจนในชนบทและการขาดความรู้ในเรื่องภาษาและข้ั้นตอน ทางกฎหมายซ่ึงมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ดังน้ันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ และความเข้มแข็งให้กับผู้หญิงในเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เช่น การให้ความรู้เรื่องสิทธิของผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมต้ังแต่ต้น กระบวนการไปจนจนจบสิ้นกระบวนการ การให้ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การช้ีให้เห็นถึงโอกาสและช่องทางในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้หญิงไม่ว่าจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในฐานะพยานหรือโจทก์ (ผู้ถูกกระทำ) 

ในกระบวนการจัดการกับอุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมการสร้างความตระหนักรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมา ข้างต้นน้ันต้องใช้ผู้หญิงด้วยกันเองเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (change agent) ผู้หญิงสามารถสร้างความเข้มแข็ง ให้ตนเอง และช่วยเหลือผู้หญิงคนอื่นๆ ในชุมชนและสังคมได้ไม่ว่าจะด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรมให้กับผู้หญิงในเครือข่าย การผลักดันให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทเกิดการตระหนักรู้ถึงสิทธิ ของผู้หญิง ไปจนถึงการช่วยเหลือผู้หญิงคนอื่นๆ นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและ ให้คำปรึกษาในขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ได้ 

การฝึกอบรมนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้นำหญิงที่มีศักยภาพเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ให้สามารถทำหน้าที่เป็น paralegal หรือ ผู้ช่วย/ผู้แนะนำทางด้านกฎหมาย การฝึกอบรมจึงเน้นที่การทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม  เพื่อนำมาซึ่งความยุติธรรมต่อผู้หญิง (Women for Justice, Justice for Women) การฝึกอบรม paralegal น้ี  เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกลไกในกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ กฎหมายพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทำหน้าที่เป็นหัวหอกสำคัญในการปกป้องและผลักดันให้ผู้หญิง ในชุมชนได้รับความยุติธรรมทั้งทางด้านกระบวนการและ ผลลัพธ์ และท้ายที่สุดคือการสร้างเครือข่ายระหว่าง กลุ่ม paralegal ผู้หญิงที่เข้ารับอบรมและองค์กรด้านความยุติธรรมอื่นๆ

Back