ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2556 สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้เปิดตัวแผนงานในระดับภูมิภาค คือ “Regional Programme for Southeast Asia 2014-2017” ซึ่งเป็นแผนงานใหม่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของ UNODC ณโรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพ ฯ

ผู้เข้าร่วมเปิดตัวแผนงานในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ได้แก่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา Mr. Yury Fedotov ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) Mr. Jeremy Douglas ผู้แทนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของ UNODC นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมอื่น ๆ คือ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทย เอกอัครราชทูต และผู้แทนของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

แผนงาน “Regional Programme for Southeast Asia 2014-2017”   มุ่งเน้นที่ 5 ประเด็นหลัก คือ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการค้าของผิดกฎหมาย การต่อต้านการทุจริต การป้องกันการก่อการร้าย กระบวนการยุติธรรม และ ยาเสพติด ระบบพัฒนาสุขภาพและสาธารณสุข

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) มีแผนงานที่สอดคล้องกับแผนงานของ UNODC ในประเด็นเหล่านี้คือ การค้ามนุษย์และการปฏิรูปเรือนจำ โดยจากแผนงานของ UNODC ที่เน้นเรื่ององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Organized Crime or TOC) ในประเด็นการค้ามนุษย์นั้น TIJ ซึ่งเป็นองค์กรมหาชนในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มีแผนงานและกำลังดำเนินโครงการทำวิจัยเรื่องการค้ามนุษย์ TIJ และ UNODC จึงถือเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการหลักเพื่อผลักดันการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและส่งเสริมหลักนิติธรรม ตามแนวพระดำริในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และในประเด็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม (Criminal Justice) นั้น TIJ มีแผนงานและการทำวิจัยด้านการปฏิรูปเรือนจำ เช่น การทำวิจัยในประเด็นการดำเนินการข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-Custodial Measures for Women Offenders) หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานของ UNODC ที่ต้องการรณรงค์ให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกนำเอาข้อกำหนดของสหประชาชาติไปอนุวัติและบังคับใช้ในแต่ละประเทศเพื่อทำให้เกิดกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาค และเป็นธรรม


แหล่งข้อมูล
http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=28616
http://www.unodc.org/southeastasiaandpacific/en/2013/11/regional-programme-launch/story.html
http://th.one.un.org/thai/documents/UNPAF%202012-2016%20THA.PDF

ภาพประกอบ
www.unodc.org

แก้ไขครั้งล่าสุด : 30 พฤศจิกายน 2556

Back