Most Viewed
-
กฎหมายกับบทบาทเพื่อสิทธิเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
21 มิ.ย. 2565
-
งานเสวนาระดับโลก ชุด “กระบวนการยุติธรรมที่ตอบสนองต่อเพศภาวะและการปฏิรูปเรือนจำ”
12 พ.ค. 2563
-
ผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจ ชีวิตวิถีใหม่ อยู่ภายใต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนะทุกหน่วยงานต้องออกแบบระบบที่ทำงานได้แม้ถูกโจมตี
23 มิ.ย. 2563
-
New Normal ศาลยุติธรรมยุคโควิด-19 “เปิดศาล” ให้เป็นแหล่งเรียนรู้กฎหมาย ประชาชนเข้าถึงง่าย ตรวจสอบได้ทุกคดี
16 พ.ค. 2563
เชิญร่วมงานเสวนาออนไลน์ “เครื่องมือขจัดความรุนแรงต่อเด็ก: ยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการ เชิงปฏิบัติของสหประชาชาติฯ”
เปิดตัว “เครื่องมือ” สำหรับผู้ปฎิบัติงานด้านการคุ้มครองและขจัดความรุนแรงต่อเด็ก และ แชร์ “เคล็ดลับ”การเชื่อมโยงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากลกับบริบทของประเทศไทย ผ่านมุมมองของผู้ปฏิบัติงานที่เปี่ยมไปด้วยความรู้และประสบการณ์ตรง
TIJ และสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์ (webinar) “เครื่องมือขจัดความรุนแรงต่อเด็ก: ยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการเชิงปฏิบัติของสหประชาชาติฯ” ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.30 น. เพื่อเปิดตัวหนังสือคำแปลฉบับภาษาไทย“ยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการเชิงปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อเด็กในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา” (United Nations Model Strategies and Practical Measures on the Elimination of Violence against Children in the Field of Crime Prevention and Criminal Justice) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม และทุกภาคส่วน ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองและขจัดความรุนแรงต่อเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ภายในงานจะมีคุณวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที ที่ปรึกษา TIJ และ คุณสันทนี ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุดวิทยากร ที่จะมาเล่าเกี่ยวกับความเป็นมา และประเด็นสำคัญของยุทธศาสตร์ต้นแบบฯ นอกจากนี้ยังมีคุณวรภัทร แสงแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลปทุมธานี และดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ เลขานุการศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในปัจจุบัน และภาพรวมของกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในไทย
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ ที่นี่ และอ่านคำแปลฉบับเต็ม ที่นี่
หากท่านมีคำแนะนำและความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ต้นแบบว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อเด็กฯ” สามารถแบ่งปันกับเราได้ที่ academy@tijthailand.org