ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 ตัวแทน TIJ เข้าร่วมการประชุมทบทวนความเข้าใจ (Validation Meeting) โครงการพัฒนามาตรการบริการชุมชนและการคุมประพฤติที่มีความอ่อนไหวต่อเพศสภาวะใน สาธารณรัฐเคนยา (Working towards a gender-sensitive community service and probation orders in Kenya) ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา


การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เกี่ยวกับประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในสาธารณรัฐเคนยา โดยคณะผู้วิจัย เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ ของสาธารณรัฐเคนยา ผู้แทนจากศาลยุติธรรมสาธารณรัฐเคนยา ผู้แทนจากองค์การการปฏิรูปการลงโทษสากล (Penal Reform International – PRI) และ TIJ ได้ร่วมกันอภิปรายข้อค้นพบจากการวิจัย แนวทางการพัฒนาเครื่องมือการประเมินผู้กระทำความผิดที่มีความอ่อนไหวทางเพศภาวะ รวมถึง การออกแบบและการใช้มาตรการบริการชุมชนและการคุมประพฤติที่มีความอ่อนไหวต่อเพศภาวะ เพื่อให้คณะผู้วิจัยนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการต่อไป


ในการนี้ นายวิสุทธิ์ ฉันทแดนสุวรรณ ผู้ช่วยนักวิจัยกลุ่มโครงการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด TIJ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอในหัวข้อ “Gender-sensitive Investigation Tool from Thailand” ซึ่งได้กล่าวถึงเครื่องมือในการปฏิบัติงานสืบเสาะและพินิจผู้กระทำผิดที่เป็นผู้หญิง ที่ทางกรมคุมประพฤติและ TIJ ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้การแสวงหาข้อเท็จจริงได้ครอบคลุมถึงข้อมูลละเอียดอ่อนของผู้กระทำผิดหญิง ด้วย

Back