คณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยมติคัดเลือก ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ให้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป
ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงและมีประสบการณ์ทางานใน กระบวนการยุติธรรมมายาวนาน มีชื่อเสียงทั้งในฐานะนักบริหารและนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยในการรับตำแหน่งครั้งนี้ ดร.กิตติพงษ์ มีความมุ่งหมายว่าจะยกระดับทีไอเจ ไปสู่การเป็นสถาบันสมทบในเครือข่ายของสหประชาชาติ (United Nations Programme Network of Institutes – PNIs) ให้ได้ภายในสองปี
ผลักดัน “ทีไอเจ” สู่การเป็นหน่วยงาน PNI
หน่วยงาน PNIs เป็นเครือข่ายสถาบันวิชาการและองค์การระหว่างประเทศที่ทาหน้าที่สนับสนุน ในการดำเนินภารกิจต่างๆของสหประชาชาติ ซึ่งหน่วยงานที่จะได้รับรองให้มีสถานะเป็นสถาบันสมทบของสหประชาชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย PNIs จะต้องได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ มีจุดเด่น (niche) และมีศักยภาพที่จะสนับสนุนภารกิจในด้านวิชาการได้ นอกจากนี้ยังต้องเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญในภูมิภาค และต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง
การเข้าร่วมเครือข่ายสถาบันสมทบดังกล่าว เป็นโอกาสอันดีที่ ทีไอเจจะได้มีบทบาทนาในการกำหนดนโยบายและด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานลักษณะดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากทีไอเจผ่านการพิจารณาให้เข้าเป็นสถาบันสมทบแห่งสหประชาชาติ ย่อมจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำสำคัญในสาขาดังกล่าวในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
ดร.กิตติพงษ์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “...การก้าวไปสู่การเป็นหน่วยงาน PNI นั้น ทีไอเจจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในด้านวิชาการและการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า ทีไอเจ ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนภายในประเทศอย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาสถานภาพและบทบาทในฐานะหน่วยงาน PNI ได้อย่างต่อเนื่อง...”
ในการเร่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการนั้น ทีไอเจมุ่งเน้นประเด็นหลักสองด้านคือ การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดหญิงและเด็ก โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุวัติข้อกาหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือ Bangkok Rules ซึ่งถือเป็น Signature products และอีกประเด็นคือการส่งเสริมแนวคิดเรื่องหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในทุกมิติให้เป็นส่วนหนึ่งของ Post-2015 development agenda เพราะการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในเรื่องหลักนิติธรรมในสังคม จะส่งผลให้ทุกภาคส่วนมีแนวทางในการรับมือกับปัญหาความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุข คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน