ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

การทำงานด้านอาชญากรรมและการพัฒนามุ่งเป้าหมายเสริมบทบาทของ TIJ ในการเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงอาชญากรรมและการพัฒนา โดยนำเสนอข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาวิจัยของ TIJ และการศึกษาวิจัยในประเด็นเชื่อมโยง (Cross-cutting issues) ที่มีความเกี่ยวข้องกับกรอบนโยบายด้านอาชญากรรมและการพัฒนา อันรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 แห่งสหประชาชาติ และวิสัยทัศน์อาเซียน 2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน ขอบเขตงานวิจัยนั้นครอบคลุมมิติการพัฒนาเพื่อป้องกันอาชญากรรม ลดการกระทำผิดซ้ำ และสนับสนุนการกลับคืนสู่สังคมของผู้กระทำผิด สำหรับเป้าหมายของโครงการคือการส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

กิจกรรมสำคัญ 

  • สนับสนุนการประชุมอาเซียนว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (ACCPCJ)ซึ่งเป็นงานประชุมระดับภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกฎหมายของอาเซียน
  • เสนอแนะนโยบายด้านการป้องกันอาชญากรรมด้วยมิติการพัฒนานำ มาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และหลักนิติธรรม

พันธมิตรหลัก 

  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • สำนักเลขาธิการอาเซียน 
  • สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)
  • คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ(UNESCAP) 
Back