The Bangkok Rules TIJ Academy TIJ Public Forum RoLD Program TIJ-IGLP Workshop Project j
A A+
TH EN

THAILAND INSTITUTE OF JUSTICE Investing in the Rule of Law for a Better Future

ค้นหา MENU CLOSE
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    ข้อมูลองค์กร โครงสร้างการบริหารงาน
  • กรอบการดำเนินงาน
    TIJ Academy TIJ Justice Innovation การอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพและมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การประสานงานนโยบาย ผู้หญิงและเด็กในระบบยุติธรรมทางอาญา พัฒนาข้อมูลสถิเพื่อการวิจัยและนโยบาย ความเชื่อมโยงอาชญากรรมและการพัฒนา องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
  • ข่าวเด่น
  • แหล่งความรู้ และสื่อสิ่งพิมพ์
  • ความเคลื่อนไหว
  • ห้องข่าว
  • พันธมิตร
  • ร่วมงานกับเรา
  • บอกรับข่าวสาร
  • ติดต่อเรา
โครงสร้างการบริหารงาน /

ประธานที่ปรึกษาพิเศษ

01 พระประวัติ 02 โครงการ
พระประวัติ

01 พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2521 ทรงเป็นพระราชธิดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันได้รับพระราชทานพระยศเป็น พลเอกหญิง และทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการกองบัญชาการ ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก) 

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จากนั้นทรงสำเร็จเป็นนิติศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ด้านนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งจบการศึกษากฎหมายขั้นสูงจากสำนักฝึกอบรมเนติบัณฑิตไทย ต่อมาทรงเข้ารับราชการและได้รับการเลื่อนขั้นตามลำดับ คือ ตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญระดับร้อยเอก หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด ตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2549 จากนั้นได้ทรงรับราชการตำแหน่งอัยการผู้ช่วยในปี 2550 และทรงเติบโตในสายงาน จนทรงดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู กระทั่ง ในปี 2554 ทรงเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และต่อมาทรงดํารงตําแหน่งอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระยอง (ข้าราชการอัยการชั้น 4)

จากพระอัจฉริยภาพด้านการศึกษา และประสบการณ์การทรงงานทั้งในด้านกระบวนการยุติธรรมและการต่างประเทศ จึงทำให้สนพระทัย และมีพระวิสัยทัศน์ในการผลักดันประเด็นที่เป็นบรรทัดฐานระหว่างประเทศให้มีผลต่อการพัฒนากฎหมายภายในประเทศ จนทำให้เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ ดังเช่น ทรงพระดำริริเริ่มโครงการกำลังใจ (INSPIRE) เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเป้าหมายผู้ต้องขังสตรี เด็กติดผู้ต้องขัง กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและกลุ่มผู้ขาดโอกาสอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถมีกลับมาดำรงชีวิตเป็นคนดีของสังคมได้อย่างปกติสุข ในสิ่งที่ไม่ซ้ำซ้อนกับทางราชการ ต่อมาทรงริเริ่มโครงการยกร่างมาตรฐานการพัฒนามาตรฐานผู้ต้องขังหญิง Enhancing Lives of Female Inmates หรือ ELFI “เมื่อปี 2551 ซึ่งมุ่งมั่นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงทั่วโลกผ่านการจัดทำข้อเสนอในนามประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เป็น “ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง” (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-custodial Measures for Women Offenders) หรือ The Bangkok Rules ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีบนเวทีโลก และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 65 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2554

ด้วยพระกรณียกิจที่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพสกนิกรชาวไทย และประชาคมโลก องค์การสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ UNODC (United Nation Office on Drugs and Crime) จึงได้ขอประทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรางวัลเชิดชูเกียรติยศสูงสุด Medal of Recognition แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งรางวัล President’s Award ซึ่งทูลเกล้าถวายโดย International Corrections and Prisons Association (ICPA) และ UNIFEM Award ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ทูตสันถวไมตรีและทรงมีบทบาทนำในเรื่องการยุติความรุนแรงต่อสตรีอีกด้วย

ในปี 2560 สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNODC) ทูลเกล้าฯ ถวายตำแหน่งทูตสันถวไมตรีด้านหลักนิติธรรมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการพัฒนาในการจัดการกับภัยอาชญากรรมที่มีต่อสังคมและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยทรงมีบทบาทสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงาน UNODC ในภูมิภาค และทรงช่วยสร้างการรับรู้ในประเด็นระดับโลกที่สำคัญและระดมความร่วมมือต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง

 

โครงการ
โครงการ

02 โครงการ


 โครงการกำลังใจ (INSPIRE)  พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน 

 

โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นโครงการที่ทรงได้รับแรงพระบันดาลใจจากการเสด็จเยี่ยมเยียนและประทานสิ่งของแก่ผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2544 ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาของผู้ต้องขังหญิงที่ขาดโอกาสต่างๆ ในชีวิต เช่นเดียวกับเด็กที่ถือกำเนิดในเรือนจำที่ต้องอยู่ในสภาพที่ขาดโอกาสไปด้วย โครงการนี้จึงเป็นไปเพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนากลุ่มเป้าหมายผู้ต้องขังสตรี เด็กติดผู้ต้องขัง กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและกลุ่มผู้ขาดโอกาสอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถมีกลับมาดำรงชีวิตเป็นคนดีของสังคมได้อย่างปกติสุข ในกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับทางราชการ

โครงการกำลังใจ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยายไปสู่เรือนจำแห่งอื่นๆ ทั่วประเทศ

 

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553

 

โครงการยกร่างมาตรฐานการพัฒนามาตรฐานผู้ต้องขังหญิง (Enhancing Lives of Female Inmates – ELFI) เป็นโครงการระดับนานาชาติ ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิด “ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง” หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ โดยเป็นโครงการเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก เสริมกับข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำว่าด้วยการปฏิบัติผู้ต้องขังในเรือนจำ (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners) ซึ่งถูกยกร่างและนำไปปฏิบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โครงการ ELFI ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาหลักของผู้ต้องขังหญิงทั้งในด้านความไม่เหมาะสมของสถานที่คุมขัง ความต้องการที่แตกต่างจากผู้ต้องขังชาย และการเลือกปฏิบัติอันนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง หรือข้อกำหนดกรุงเทพฯ (ข้อกำหนดกรุงเทพ) พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน

 

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 65 (65th United Nations General Assembly – UNGA) ได้รับรอง “ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง” (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-custodial Measures for Women Offenders) หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพฯ (The Bangkok Rules) ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553  และต่อมาได้มีการขยายผลเพื่อนำไปปฏิบัติในเรือนจำทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ตลอดจนการดำเนินการจัดทำเรือนจำต้นแบบ

พระประวัติ
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • พ.ร.บ./ระเบียบ TIJ
  • ร้องเรียนความโปร่งใส
  • รายงานผลการดำเนินงาน
  • ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ TIJ

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

999 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

อีเมล: info@tijthailand.org

Tel : 02-522-1199
Fax: 02-522-1198

 

งานรับส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน และ งานสารบรรณ

อีเมล: saraban@tijthailand.org

Tel: 02-522-1199 ต่อ 173

© Copyright 2018 Thailand Institute of Justice All Rights Reserved

ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

ยอมรับคุกกี้ที่จำเป็น ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
icon close

การตั้งค่านโยบายการใช้คุกกี้

นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน

icon pdpa

คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้

icon pdpa

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies)
คุกกี้เก็บข้อมูลการใช้งาน (Analytic หรือ Statistics หรือ Performance Cookies) คุกกี้พวกนี้สำหรับจัดเก็บพฤติกรรมการใช้งานwebsite ทั้งหมด

icon pdpa

คุกกี้ประเภทการโฆษณา (Advertising cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกบันทึกบนอุปกรณ์ของท่านเพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและลิงก์ที่ท่านติดตามหรือเยี่ยมชม เพื่อให้เข้าใจความต้องการของท่านและใช้ในการนำเสนอสิทธิประโยชน์ ประชาสัมพันธ์ โฆษณา ให้เหมาะสมกับความสนใจของท่านมากที่สุด
คุกกี้ประเภทการทำงาน

icon pdpa

คุกกี้ประเภทการทำงาน (Functional cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้บริษัท “จดจำ” ท่านระหว่างการเยี่ยมชมและตั้งค่าเว็บไซต์ของบริษัท