ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางเพศภาวะในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นับเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ด้วยเหตุผลหลายประการ ในขณะที่ประชากรในเรือนจำทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ประชากรในเรือนจำที่เป็นผู้หญิงมีอัตราการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดยผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่มีการกระทำผิดในระดับลหุโทษและเป็นการกระทำผิดที่ไม่รุนแรง การให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นทั้งในด้านสุขภาพและสุขภาวะของผู้หญิง จัดได้ว่าเป็นประเด็นท้าทายในการบริหารจัดการเรือนจำ การที่ผู้ต้องขังหญิงจำนวนไม่น้อยมีหน้าที่ในการหาเลี้ยงดูแลครอบครัว การคุมขังผู้หญิงไว้ในเรือนจำ จึงส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้พึ่งพา และกลายเป็นคำถามทางนโยบายที่สำคัญและต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน 

 

สำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด หรือ OBR ของ TIJ มุ่งเป้าหมายในการสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ให้ความสำคัญกับเพศสภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติต่อผู้ต้องขังโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องขัง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดสากลในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง อันได้แก่ ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ และข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (ข้อกำหนดเนลสัน แมนเดลา) รวมทั้งมาตรฐานและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ OBR ยังดำเนินงานส่งเสริมการใช้มาตรการที่มิใช่การคุมขังและสนับสนุนการคืนสู่สังคมของผู้ต้องขัง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ และเสริมสร้างสังคมสำหรับทุกคน 

 

OBR ดำเนินงานกิจกรรมหลัก 3 ประการ ได้แก่ งานศึกษาและวิจัย การจัดหลักสูตรฝึกอบรม และการเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับงานด้านการศึกษาและวิจัยและการจัดหลักสูตรฝึกอบรม ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในภูมิหลัง เส้นทางที่นำมาสู่เรือนจำ และผลกระทบจากการถูกคุมขังที่เกิดขึ้นกับผู้กระทำผิดและครอบครัวของผู้กระทำผิดหญิง นอกจากนี้ OBR ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานระหว่างประเทศ และหน่วยงานไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียน และนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนการนำมาตรฐานและข้อกำหนดสากลในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังมาประยุกต์ปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม

 

กิจกรรมสำคัญ

  • โครงการจัดการฝึกอบรมประจำปีว่าด้วยการบริหารจัดการเรือนจำหญิง สำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อาวุโสในภูมิภาคอาเซียน 
  • เรือนจำต้นแบบในการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพ (ร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ ประเทศไทย) 
  •  

พันธมิตรหลัก

  • กรมราชทัณฑ์ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน
  • องค์กรการปฏิรูปการลงโทษสากล (Penal Reform International)
  • Griffith University 
Back