ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

วันที่ 11 มิถุนายน 2558 TIJ จัดงานสัมมนา เรื่อง “คนยุติธรรม ที่ไม่อยุติธรรม” (Criminal Justice Human Resources)การสัมมนาดังกล่าวเป็นการอภิปราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการสำรวจทางเลือกและแนวคิดจากภาคธุรกิจเอกชน และในแวดวงกระบวนการยุติธรรมของประเทศต่างๆ ที่จะช่วยให้มีแนวคิดเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น


ในการนี้ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวปาฐกถาและกล่าวเปิดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยกล่าวถึงความสำคัญของประเด็นต่างๆในการสัมมนาครั้งนี้ และ แนะนำหัวข้อการสัมมนาครั้งต่อไป


สำหรับการอภิปราย แบ่งเป็น สองประเด็นหลัก คือ 1) คุณภาพของคนในองค์กร โดยอภิปรายถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล การสร้างและพัฒนาคนในองค์กร  รวมถึงวิธีการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรให้มีความโดดเด่นและ 2) หลักการและแนวคิดในการคัดเลือก พัฒนาและรักษาคนคุณภาพในองค์กร อภิปรายถึง หลักและแนวคิดในการคัดเลือกบุคลากรแบบใดที่จะช่วยคัดกรองคนที่มีคุณสมบัติพึงประสงค์เข้าสู่องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ การรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพควรยึดหลักระบบคุณธรรม


งานสัมมนาครั้งนี้มีวิทยากรเข้าร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนจากหลากหลายฝ่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ คุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์ (Head of Executive Briefing Center & External Relations)  บริษัทปูนซีเมนต์, นายบุญรอด ตันประเสริฐ (ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลอุทธรณ์ภาค 1), ศาสตราจารย์ คะนึงฦาไชย, นายพนัส ทัศนียานนท์, นายสัญชัยผล ผลฉาย, นายสุชาติ หล่อโลหการ, Mr. Narendra Jatna (พนักงานอัยการประจำสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย), Mr.Yuuke Hirose (ผู้พิพากษา และ อาจารย์ที่สถาบัน UNAFEI), Mr.Hirokazu Urata (พนักงานอัยการ ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น), Judge Therese Blanche Bolunia (ผู้พิพากษาจากประเทศฟิลิปปินส์) และ Mr.Peter Ong (พนักงานอัยการจากประเทศฟิลิปปินส์) เป็นต้น โดยวิทยากรบุคคลสำคัญจากหลายฝ่ายได้นำเสนอประสบการณ์จากต่างประเทศเกี่ยวกับเทคนิค วิธีการ และมาตรการในการคัดบุคลากรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยตระหนักว่า นอกจากระบบที่ดี กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ จะต้องอาศัยบุคลากรที่ “เก่ง” และ “ดี” รวมถึง “มีความกล้าหาญทางจริยธรรม” เข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญในกระบวนการยุติธรรมด้วย

สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วย ข้าราชการตำรวจ อัยการ ศาลยุติธรรม ราชทัณฑ์ องค์กรภาคเอกชน นิสิตนักศึกษา นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ อาชญาวิทยา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมถึง คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และ คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรม (คอ.นธ.) กว่า 150 คน โดยผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสโหวตเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสัมมนาด้วย

นอกจากการสัมมนาแล้ว สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ยังได้ทำพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ ThaiPBS เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตและเผยแพร่สาระและมุมมองเกี่ยวกับพัฒนาการและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอีกด้วยนับเป็นก้าวสำคัญของ TIJ ในการรวบรวมแนวคิด เพื่อพัฒนาความรู้ในการพัฒนาปรับปรุงวิธีการคัดเลือกบุคลากรในด้านกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมและมีคุณภาพ

Back