ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม


เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2558 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เข้าร่วมหารือและเสนอผลงานวิจัยระดับภูมิภาคในหัวข้อ " Regional Dialogue on the Multi-Country Study on Understanding the criminal justice system response to sexual violence in India, Thailand and Vietnam" จัดโดย UNODC, UNDP และ UN WOMEN ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยมี ดร. กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ผู้อำนวยการ TIJ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน


การหารือในครั้งนี้ เป็นการร่วมพูดคุยถึงข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย เพื่อเข้าใจกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการจัดการกับความรุนแรงทางเพศในประเทศอินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยนักวิจัยของทั้งสามประเทศได้นำเสนอผลงานวิจัย เพื่อนำไปศึกษาและพัฒนาเป็นนโยบายในระดับภูมิภาคต่อไป TIJ มีบทบาทหลักในการศึกษาวิจัยในส่วนของประเทศไทย โดยมี ดร. สิตา สัมฤทธิ์ ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมสิทธิผู้หญิงและเด็ก เป็นผู้นำเสนอ


จากผลการวิจัยพบว่า ปัญหาหลักของผู้หญิงในประเทศไทยในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม คือมีสถิติของคดีความเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศหลุดออกจากกระบวนการยุติธรรมในระดับสูง และมีโอกาสเกิดขึ้นในทุกขั้นของกระบวนการยุติธรรม สาเหตุหลักคือผู้หญิงที่ต้องการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต้องเผชิญกับกฎหมายและการปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคและขาดความละเอียดอ่อนทางเพศ เช่นการถูกสอบสวนและซักถามซ้ำๆ ซึ่งส่งผลต่อสภาพทางจิตใจของผู้เสียหาย และการที่กฎหมายกำหนดว่าในคดีข่มขืน ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับจากเกิดและรู้เหตุ หรือการที่กฎหมายของไทยไม่มีการจำกัดความคำว่า “สมยอม” ไว้อย่างชัดเจนเพียงพอ TIJ จึงได้นำผลงานวิจัยนี้มาพัฒนาเป็นแนวทางการสนับสนุนให้ผู้หญิงได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น เช่นการพัฒนามาตรฐาน ระเบียบการปฏิบัติ (Standard Operating Procedures) สำหรับเจ้าหน้าที่ในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้เสียหายกรณีความรุนแรงทางเพศให้มีความตระหนักถึงความอ่อนไหวทางเพศของผู้เสียหายมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม เป็นต้น

Back