ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้จัดงานเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “โปรตุเกสโมเดล: กรณีศึกษา ทิศทางใหม่นโยบายยาเสพติด” เพื่อทบทวนนโยบายยาเสพติด และวิธีการแก้ปัญหาที่ประเทศไทยใช้ในช่วงที่ผ่านมา วิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ดี ของประเทศที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จ จากการใช้มาตรการทางปกครองและมาตรการทางสาธารณสุขกำกับและดูแลผู้เสพยาในฐานะผู้ป่วยแทน หรือที่เรียกว่า “decriminalization” อันเป็นการปรับนโยบายให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม รวมถึงการนำหลักการปรับกระบวนการยุติธรรมโดยอาศัยชุมชนเป็นพื้นฐาน (community-based justice) มาใช้


ในการนี้ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เป็นผู้ดำเนินการเสวนาหลักร่วมกับวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นายนวรัตน์ กลิ่นรัตน์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา นายวันชัย รุจนวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติดและอัยการอาวุโส และ นายแพทย์วิโรจน์ วีรชัย ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์


เวทีดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อมวลชน จำนวนกว่า 130 คน ได้ร่วมพิจารณา แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และซักถามในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ TIJ มุ่งหวังว่าการเสวนา ครั้งนี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีมุมมองใหม่ที่เหมาะสมเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับปัญหายาเสพติด ในประเทศไทย โดย TIJ จะรวบรวมแนวคิดของทุกฝ่ายเพื่อจัดทำเป็นข้อสรุปเชิงนโยบายต่อไป

 

ดาวน์โหลดเอกสาร

>>> Presentation Slides
>>> Drug Policy Profile: Portugal
>>> Drug Decriminalozation in Portugal: A Health-Centered Approch
>>> What can We learn from the Portuguese Decriminalization of Illicit Drugs?

Back