ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ สถาบันวิจัยอาชญากรรมและความยุติธรรมระหว่างภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ (UNICRI) จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “การรับมือกับภัยคุกคามและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่จากอาชญากรรมองค์กรข้ามชาติ ภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน”


โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อแนะนำโครงการศึกษาวิจัยที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกันกับสถาบันวิจัยอาชญากรรมและความยุติธรรมระหว่างภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ (UNICRI) และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นในรูปแบบและมุมมองต่างๆ ระหว่างผู้แทนส่วนราชการที่ปฏิบัติงานด้านนโยบายการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ


ในการนี้ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวเปิดการประชุมร่วมกับ ผู้อำนวยการโครงการวิจัย ประกอบด้วย Dr. Cindy Smith ผู้อำนวยการ UNICRI และ นาง สันทนี ดิษยบุตร อัยการและที่ปรึกษาโครงการวิจัยของ TIJ


ทั้งนี้ เนื่องจาก TIJ เล็งเห็นถึงผลกระทบจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้ว่าในด้านดีจะช่วยให้กลุ่มประเทศสมาชิกเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่การเคลื่อนย้ายประชากรและทรัพยากรที่ง่ายขึ้น ยังอาจส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีความอ่อนไหวและเปราะบางต่อภัยคุกคามและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging challenges) อาทิ ความเชื่อมโยงระหว่างอาชญากรรมองค์กรข้ามชาติกับการก่อการร้าย อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม การลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบนำเข้าอาวุธ รวมถึงการค้ามนุษย์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยที่ผ่านมามักมุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งยังขาดการวิจัยเชิงหลักฐานในประเด็นภัยคุกคามดังกล่าวข้างต้น

ด้วยเหตุดังกล่าว TIJ จึงพัฒนาความร่วมมือในด้านงานวิจัย กับ UNICRI  เพื่อศึกษาวิจัยให้เข้าใจถึงวิธีการที่ประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิกต้องเตรียมรับมือกับภัยคุกคาม ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ บทเรียน และประสบการณ์จากทั้งในระดับภูมิภาค และระดับสหภาพยุโรป


TIJ มุ่งหวังว่าผลจากการวิจัยครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ องค์ความรู้ รวมถึงสร้างความเข้าใจให้กับผู้แทนส่วนราชการต่างๆ เกี่ยวกับภัยคุกคาม ที่เกิดจากอาชญากรรมข้ามชาติได้มากขึ้น

นับเป็นความร่วมมือด้านวิชาการครั้งสำคัญระหว่าง TIJ และ UNICRI ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามใหม่ที่เกิดจากอาชญากรรมข้ามชาติ ให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป

Back