ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคม 2559 - นางสาวชลธิช ชื่นอุระ หัวหน้ากลุ่มโครงการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด พร้อมนักวิจัย TIJ เดินทางเข้าร่วมการประชุมเปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนามาตรการบริการชุมชนและการคุมประพฤติที่มีความอ่อนไหว ต่อเพศสภาวะในสาธารณรัฐเคนยา (Working towards a gender-sensitive community service and probation orders in Kenya) ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงไนโรบี ประเทศสาธารณรัฐเคนยา


โครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์การการปฏิรูปการลงโทษสากล (Penal Reform International - PRI) และกรมคุมประพฤติและการสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย สาธารณรัฐเคนยา โดยทาง TIJ ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการ และส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ทบทวนความเข้าใจ (Validation Meeting) ของโครงการดังกล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นโครงการสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและขยายขอบเขต การดำเนินงานด้านการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพของ TIJ ไปสู่ภูมิภาคแอฟริกา


การประชุมเปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ในครั้งนี้ได้รับเกียรติกล่าวปาฐกถาเปิดงานจาก Mr. Micah Powon อธิบดีกรมราชทัณฑ์ สาธารณรัฐเคนยา Ms. Alison Hannah ผู้อำนวยการ PRI และ Hon. Justice Luka Kimaru ประธานคณะกรรมการมาตรการบริการชุมชน โดยมี Dr. Sarah Kinyanjui ในฐานะหัวหน้านักวิจัยเป็นผู้นำเสนอ ซึ่งผลจากการวิจัยจะได้นำไปพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน และพิจารณามาตรการบริการชุมชนที่มีความเหมาะสมต่อผู้กระทำผิดหญิง รวมทั้งนำข้อค้นพบที่มีบริบท ที่เป็นสากลมาสรุปและเผยแพร่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านคุมประพฤติของประเทศต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคแอฟริกาต่อไป

ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวกว่า 60 คน ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน ด้านราชทัณฑ์และคุมประพฤติของสาธารณรัฐเคนยา องค์การระหว่างประเทศ สถานทูต และสื่อมวลชน

 

Back