ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

การสร้างความเท่าเทียมทางเพศและการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้รับการกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเป้าหมายที่ 5 และเป้าหมายที่ 16 ในการนี้ TIJ ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการดำเนินโครงการศึกษาวิจัย การจัดฝึกอบรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้

TIJ ส่งเสริมการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้หญิงและเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กลุ่มโครงการผู้หญิงและเด็กในระบบยุติธรรมทางอาญา หรือ WCCJ ของ TIJ จึงมีแนวทางการดำเนินงานในการคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและเด็ก และสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างทางกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีสิทธิและมีส่วนร่วมทางสังคมในสังคม

TIJ มุ่งเป้าหมายที่จะส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมที่คุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน  WCCJ จึงสนับสนุนการนำแผนยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการในทางปฏิบัติ ว่าด้วยการยุติความรุนแรงต่อเด็กในสาขาการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Model Strategies and Practical Measures on the Elimination of Violence against Children in the Field of Crime Prevention and Criminal Justice) มาใช้ในการดำเนินงานของประเทศต่างๆ โดยแผนยุทธศาสตร์ต้นแบบและมาตรการดังกล่าวเป็นกรอบในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล ให้ความช่วยเหลือ และการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าว WCCJ ได้จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อเอื้อให้เกิดการอภิปรายระหว่างผู้เกี่ยวข้องด้านการคุ้มครองเด็กจากทุกภาคส่วนในไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การจัดทำโรดแมประดับชาติ

กิจกรรมสำคัญ

ด้านการป้องกันและคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงWCEทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI  และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก(FACE Foundation)ในการจัดการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อการต่อสู้กับปัญหาการท่องเที่ยวเพื่อซื้อประเวณีเด็ก อีกทั้งทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในการให้ความช่วยเหลือและดูแลเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

สำหรับงานด้านคุ้มครองผู้หญิง ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยที่มีความครอบคลุมในหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้หญิง โดยให้ความสำคัญกับประเด็นความเปราะบางทางเพศในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนมีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมและการพัฒนาสังคม อันนำไปสู่การริเริ่มโครงการศึกษาวิจัยที่สะท้อนบทบาทของผู้หญิงทั้งในฐานะผู้รักษาความยุติธรรมและผู้มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกเหนือจากโครงการวิจัยและกิจกรรมฝึกอบรมแล้วTIJเชื่อในความสำคัญของการเสริมสร้างความตระหนักรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเคารพกฎหมายในสังคมWCEได้จัดกิจกรรมรณรงค์ อาทิ “Speak Up Speak Out”เพื่อเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่จากสถานศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดประเด็นสำคัญนี้สู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธมิตรหลัก 

หน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศที่WCEได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดประกอบด้วย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด มูลนิธิมั่นพัฒนา มูลนิธิยุวสถิรคุณ กรมสอบสวนคดีพิเศษ มูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเสริมพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women)และสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ(UNODC) ส่วนโครงการศึกษาวิจัยWCE ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ เช่น University of Cambridge Centre for Development Studiesจากอังกฤษ, International Centre for Criminal Law Reform and Criminal Justice Policy (ICCLR)จากแคนาดาเป็นต้น 

Back